วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทสัมภาษณ์



จากการสัมภาษณ์มีใจความว่า

กราประดิษฐ์เครื่องใช้จากลูกปัด เกิดขึ้นในชุมชนเนื่องจาก มีการอบรมส่งเสริมอาชีพภายในชุมชน กิจกรรมที่ชาวบ้านสนใจที่สุดคือ การประดิษฐ์ลูกปัดเป็นเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งการทำเป็นเครื่องประดับตกแต่ง จากนั้นชาวบ้านก็เริ่มสนใจที่จะประดิษฐ์ลูกปัด เริ่มจากการประดิษฐ์แบบใช้ในครัวเรือน และต่อมาก็ทำส่งภายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งก็สามารถสร้างรายได้ให้แก่คร

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง
-หนังสือการประดิษฐ์ลูกปัด
-ได้รับข้อมูลจาก คุณทิวาภรณ์ โพธิ์สะกัง บ้านเลขที่ 67 หมู่ 13 บ้านหัวฝาย ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

ผลที่คาดหวังว่าจะได้รับ

ผลที่คาดหวังว่าจะได้รับ



การทำเครื่องประดับจากลูกปัดเป็นงานหัตถกรรมที่มีคุณค่าในหลายๆด้านดังนี้

1.การใช้วัสดุรอบกายมาประดิษฐ์ให้เกิดประโยชน์

2.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

3.ส่งเสริมอาชีพที่โดดเด่นในท้องถิ่น

4.สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้ภายในครัวเรือน

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การดำเนินจัดทำโครงงาน

การดำเนินจัดทำโครงงาน
อุปกรณ์ที่ใช้
1. ลูกปัด














2. เอ็น











3. กรรไกร

ขั้นปฎิบัติงาน
การทำแหวนจากลูกปัด
1. ตัดเอ็นให้มีคสวามยาวประมาณ 40 ซม.
2. ดึงปลายเอ็นทั้งสองข้างให้จรดกัน
3. นำลูกปัดลูกเล็กมาสอดเข้าไปให้เป็นวงกลม โดยเริ่มจากนำลูกปัดสอดเข้าไปในเอ็นข้างใดข้างหนึ่งให้ครบ 6 ลูก จากนั้นนำปลายเอ็นอีกข้างมาสอดสลับกับลูกปัดลูกที่ 6ก็จะได้ดังภาพ








4. นำลูกปัด 2 ลูก สอดเข้าไปเอ็นข้างละ 1 ลูก










5. นำลูกปัดอีกลูก สอดเข้าไปในเอ็นข้างใดข้างหนึ่งของเอ็น จากนั้นนำเอ็นอีกข้างมาสอดสลับกับเอ็นที่สอดลูกปัด











6. จากนั้นนำปลายอีกข้างสอดเข้าไปกับลูกปัดลูกเล็ก












7. ทำเหมือนขั้นตอนที่ 4-6 ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบ












8. เมื่อครบรอบแล้วนำลูกปัดเล็กมาสอดเข้าที่ช่องว่างของลูกปัดลูกใหญ่ทำไปจนครบรอบ










9. จากนั้นนำปลายทั้งสองข้าง 3 เม็ด จากนั้นสอดเม็ดที่ 4ลงไปข้างใดข้างหนึ่ง แล้วใช้เอ็นอีกข้างสอดสลับกับเอ็นที่สอดลูกปัดลูกที่ 4








10. จากนั้นนำปลายทั้ง 2 ข้างสอดลูกปัดด้านละข้าง








11. สอดลูกปัดอีกลูกเข้าไปในเอ็นข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นนำเอ็นที่เหลืออีกข้างสอดสลับอีกครั้ง











12. ทำจนได้ความยาวที่ต้องการ












13.เมื่อได้ความยาวที่ที่ต้องการ จากนั้นก็สอดลูกปัดเข้าไปในเอ็นข้างละ 3 ลูก แล้วทำการซ่อนเอ็นเพื่อให้วงแหวนติกับหัวแหวน










14. การซ่อนเอ็นทำโดยการสอดเอ็นเข้าไปตามรูของลูกปัดเรื่อยๆจนแน่น











15. เสร็จสมบูรณ์















ขั้นทดสอบการทำงาน
จากการปฏิบัติงาน เครื่องประดับที่ทำสามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ตั้งแต่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2553


งบประมาณ
ใช้งบประมาณ 85 บาท


สถานที่ที่จัดทำโครงงาน
บ้าเลขที่ 67 หมู่ 13 บ้านหัวฝาย ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

แหล่งศึกษาข้อมูลที่เขียนโครงงาน

แหล่งศึกษาข้อมูลที่เขียนโครงงาน
จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ได้ศึกษาข้อมูลจาก นางทิวาภรณ์ โพธิ์สะกัง บ้านเลขที่ 67 หมู่ 13 บ้านหัวฝาย ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยการเข้าไปสนทนาถึงวิธีการต่างๆ รวมถึงที่มาก่อนจะริเริ่มและสนใจทำเครื่องประดับจากลูกปัด การทำลูกปัดเกิดขึ้นจากการเข้าอบรมฝึกอาชีพ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการปฏิบัติงานครั้งนี้ด้วย

ความสำคัญของโครงงาน

ความสำคัญของโครงงาน
1. เปิดโอกาศให้ผู้ที่สนใจในการทำลูกปัดเพื่อเป็นการประกอบอาชีพเสริมได้รับโอกาสในการศึกษาข้อมูล
2. ศึกษาข้อมูลในท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นในท้องถิ่นให้ผู้อื่นรับรู้
3. ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาสามารถจำหน่ายได้โดยมีพ่อค้าคนกลางคอยเข้ามารับซื้อหรือมีแหลังจำหน่ายในชุมชน
4. เพื่อเป็นกิจกรรมเสริมเวลาว่าง ซึ่งเกิดประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ
5. เป็นเครื่องประดับกิ๊บเก๋ที่สามารถทำขึ้นเอง

จุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อเพิ่มมูลค่าของลูกปัดให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
2. เพื่อเป็นเครื่องประดับ
3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4. เป็นของตกแต่ง
5. สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นอาชีพเสริม